jinjya

ข้อแตกต่างระหว่างศาลเจ้ากับวัดในญี่ปุ่น

เวลาเราเดินทางมาเที่ยวในญี่ปุ่นสามารถพบเห็นศาลเจ้าและวัดในสถานที่ต่างๆในญี่ปุ่น
ประวัติของศาลเจ้าและวัดมีมาแต่เมื่อไรไม่แน่ใจแต่บ่งบอกได้ถึงความโบราณของสถานที่นั้นๆได้เป็นอย่างดี
บรรยากาศผ่อนคลายและเงียบสงบ สอดคล้องกับธรรมชาติ

นอกเหนือจากความเร่งรีบและคึกคักของเมืองที่เราอาศัยอยู่เมื่อเราเดินเข้าสถานที่เหล่านี้ ความสงบและอุ่นใจก็มีเกิดขึ้น
หรือว่าอายุเราเพิ่มมากขึ้น? 😅

แต่สำหรับคนไทยจะคุ้นเคยกับวัดเพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับ
「ศาลเจ้า」 คงมีคำถามว่าเกี่ยวข้องหรือคืออะไรอย่างแน่นอน 🙄

ศาลเจ้าคืออะไร

ศาลเจ้าในญี่ปุ่นกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ของลัทธิชินโตแสดงถึงตัวแทนของเทพเจ้าให้คนได้มาสักการะนั่นเอง
ถ้าพูดถึงเทพเจ้าในลัทธิชินโตจะมีหลายอย่างที่นำเป็นตัวแทนของเทพเจ้า ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ หิน ธรรมชาติ เป็นต้น กล่าวได้มาพุทธเจ้าคือธรรมชาติในลัทธิชินโต

岩をご神体にする神社
หินที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าในศาลเจ้า

ในสมัยโบราณที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ จึงมีการนำสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติมาเป็นวัตถุศรัทธากัน เช่น หิน น้ำตก ต้นไม้ เป็นต้น จะว่าไปถ้าพูดถึงสิ่งปลูกสร้างของศาลเจ้านั้น จะเป็นสถานที่ทางธรรมชาติที่ให้ได้มาสักการะนั่นเอง
ไม่เพียงแต่อาคารที่เรียกว่าศาลเจ้า แต่ยังมีป่าไม้และธรรมชาติโดยรอบ ๆ ที่ถือเป็น “เทพเจ้า” ได้ทั้งหมด นั่นคือความเชื่อที่ลัทธิชินโตคิดกัน

การไปสักการะศาลเจ้า

※ วิธีการสักการะสำหรับคนญี่ปุ่นถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน แต่สำหรับชาวต่างชาติจะปฏิบัติถูกหรือไม่ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าชาวต่างชาติปฏิบัติตามหลักคนญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง รับรองคุณอาจจะได้รับคำชมเชยไม่น้อยทีเดียว 😄

画像②
ชำระล้าง( Chozusha)

เป็นการชำระล้างโดยใช้มือ

ก่อนที่เราจะไปสักการะพุทธเจ้าด้านใน เราต้องชำระล้างมือให้สะอาดก่อน บริเวณจุดชำระล้างนี้ จะอยู่บริเวณทางเข้าศาลเจ้า เตรียมผ้าเช็ดมือไว้ก็ดีครับ

  1. หยิบกระบวยด้วยมือขวาและเริ่มล้างมือซ้าย
  2. เปลี่ยนมาหยิบกระบวยด้วยมือซ้ายและล้างมือขวา
  3. เปลี่ยนมาจับกระบวยด้วยมือขวา เทน้ำใส่อุ้มมือซ้ายแล้วนำมาบ้วนปาก
    ※แอบเห็นชาวต่างชาติบางท่านดื่มน้ำเข้าไปเลยก็มีครับ อาจจะเห็นว่าคนญี่ปุ่นดื่มเข้าไปแต่จริงๆแล้วเราจะทำเพียงแค่บ้วนปากกันเท่านั้น 😅
  4. เมื่อทำการชำระล้างเสร็จให้ใส่น้ำในกระบวยเล็กน้อยเพื่อให้เวลาเราวางด้ามเอียงลงน้ำจากกระบวยจะไหลลงตามด้ามที่เราจับเมื่อสักครู่เพื่อเป็นการชำระล้างด้ามจับนั่นเอง
  5. เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็พร้อมเดินเข้าด้านในกัน

[วิดิโอประกอบ]

 

มุ่งหน้าสู่ใจกลางด้านใน

  1. ถ้าภายในมีประตูอีกให้เราเดินอ้อมประตูนั้นไปจะไม่เดินเข้าประตูโดยตรงเพราะเชื่อกันว่าเป็นทางเดินของพุทธเจ้า
    เมื่อเราเดินมาที่ด้านหน้าของอาคารด้านในให้น้อมเบา ๆ และน้อมคำนับพระเจ้า จากนั้นเคาะระฆังและใส่เงิน ว่ากันว่าเสียงระฆังนี้เป็นการบ่งบองถึงการส่งไปข้างหน้า画像④
  2. ไหว้สองครั้งและคำนับแบบสุภาพสองครั้ง
  3. ตบมือ(ลักษณะเหมือนพนมมือไหว้แล้วตบมือ) ด้วยเสียงดังชัดเจน
  4. แล้วพนมมือเมื่อทำการสักการะ
    สิ่งที่ขอก็ตามใจเรา เช่น ขอให้เดินทางปลอดภัย ขอให้ชีวิตแต่งงานมีความสุข เป็นต้น
    พระเจ้าจะให้พรกับคนที่สักการะถูกต้องและตั้งใจจริง สำหรับใครที่ไม่มีความตั้งใจจริงพระเจ้าก็อาจไม่ประทานพรให้ก็เป็นได้
  5. ท้ายสุดอย่าลืมทำความเคารพอีกคร้ง

สำหรับใครที่อยากซื้อเครื่องรางหรือเสี่ยงเซี่ยมซี ขากลับก็อย่าลืมแวะกันครับ

omamori

omikuji

ศาลเจ้ากับวัดในญี่ปุ่นต่างกัน

ความแตกต่างด้านความเชื่อ

ถ้าเรามองสถานที่ระหว่างศาลเจ้ากับวัดอาจจะดูเหมือนกันก็ตามแต่ในความเป็นจริงต่างกัน
ศาลเจ้าเป็นพระเจ้าที่ลัทธิชินโตเชื่อหรือนับถือเท่านั้น และเชื่อว่าพระเจ้าอยู่กับเราที่บ้านเสมอ
ถ้ากล่าวถึงวัด พระพุทธเจ้าสอนให้เราเชื่อในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก เราจึงสักการะพระพุทธศาสนาโดยมีตัวแทนหรือสิ่งที่บ่งบอก เช่น วัด พระสงฆ์ เป็นต้น เพื่อสื่อถึงความเชื่อในพุทธศาสนา

สิ่งปลูกสร้างที่ต่างกัน

ด้วยความที่ว่าจุดประสงค์ในการสักการะหรือความเชื่อที่ต่างกันแน่นอนอาคารปลูกสร้างก็ต่างกันเช่นกัน

ประตู (มง)

ศาลเจ้าตรงทางเข้าจะมีเสาโทริอิ(ลักษระคล้ายเสาชิงช้าในบ้านเราส่วนใหญ่จะทาด้วยสีแดง)ตั้งอยู่ตรงทางเข้าแสดงถึงเขตศาลเจ้า
สำหรับวัดจะมีประตูทางเข้าที่ลักษณะใหญ่โต สวยงามและมีหลังคาที่ชัดเจน บางวัดมีประตูทางเข้าถึงสามประตูก็มีให้เห็นกัน

torii

เทพพระเจ้าผู้พิทักษ์ (Shugo Shin)

ในศาลเจ้ามีคู่ของเทพผู้พิทักษ์หิน (ลักษณะคล้ายเสือกับสุนัขผสมกัน) อยู่ทั้งสองด้านของประตู เป็นสิ่งที่จินตนาการขึ้นมา
ส่วนวัดจะมีเทพเจ้าหน้าตาหน้ากลัวคอยปกปักรักษาอยุ่บริเวณภายในกระจกประตูด้านในจะยืนหรือนั่งก็มีให้พบเห็นกันอยู่มากเช่นกัน

狛犬
komainu

เทพพระเจ้า

วัตถุแห่งศรัทธาที่วางอยู่ในห้องโถงใหญ่ด้านใน สำหรับศาลเจ้าจะสักการะสิ่งที่กำหนดให้เป็นเทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าของลัทธิชินโตเรียกกันว่า [โยโอโยโรซุโนะคามิ) แสดงถึงจำนวนเทพเจ้าที่มีมากมายนั่นเอง
สำหรับวัดจะสักการะพุทธรูปที่แสดงถึงตัวแทนของพระพุทธเจ้านั่นเอง
เนื่องจากวิธีการคิดไม่เหมือนกันวิธีการบูชาและสิ่งที่วางไว้บนแท่นบูชาก็แตกต่างกันเช่นกัน

เราสักการะทั้งศาลเจ้าและวัดทั้งคู่เลยดีมั้ย

สำหรับญี่ปุ่นถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับการสักการะทั้งศาลเจ้าและวัด
จากมุมมองของโลกอาจเป็นเรื่องแปลกที่ [มุมมองในเรื่องศาสนาของชาวญี่ปุ่นคืออะไร ]แต่จากสมัยโบราณญี่ปุ่นได้มาจากการนมัสการความเชื่อของ [โยโอโยโรซุโนะคามิ] ที่ต่างก็ศรัทธาในมุมมองที่ต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดก็ตาม เราก็พร้อมที่จะได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ

สรุป

ศาลเจ้าเป็นสถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวประเพณีหรือประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น ถ้าใครได้มีโอกาสมาเที่ยวและรักษากฎระเบียบและปฏิบัติให้ถูกต้องรับรองพระเจ้าหรือเทพเจ้าคุ้มครองเราแน่นอน แต่ถึงแม้เราจะหลงลืมไปบ้างแต่อย่าลืมพระเจ้าในหัวใจ แต่ถ้าเราตั้งใจในจดจ่อกับวิธีการสักการะมากเกินไปก็จะดูไม่มีประโยชน์อะไรจากสิ่งที่เราจะได้รับ ถ้าความตั้งใจคือการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เราก้าวไปข้างในวัดและศาลเจ้าอย่างมั่นใจ

 

You may also like...

Bookmark-JAPAN News

Add a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

2 + 18 =